How to เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพ

วิธีเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพต้องดูอะไรบ้าง ??

          ในวันที่สถานการณ์เปลี่ยนไปโดยไม่ทันตั้งตัวจากโรคระบาด คนเริ่ม work from home กันมากขึ้น แต่ด้วยความที่บ้านเราไม่ได้ถูกเตรียมไว้สำหรับการทำงาน ทำให้ไม่มีโต๊ะ ไม่มีเก้าอี้สำหรับทำงาน หรือแม้กระทั่งต้องนั่ง ๆ นอน ๆ ทำงานบนเตียง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราหลังจากการนั่งทำงานในอิริยาบถที่ไม่เป็นมิตรต่ออวัยวะร่างกายตัวเองต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานคืออาการปวดหลัง ลามไปถึงคอ บ่า ไหล่ เกิดเป็นออฟฟิศซินโดรม หลายคนจึงหาทางแก้ปัญหาด้วยการยืดกล้ามเนื้อ โยคะ กายภาพบำบัด แต่แท้จริงแล้วนั่นคือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หากจะแก้ที่ต้นเหตุ นอกจากการเลิกทำงานแล้ว คือการเลือกใช้เก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์หรือ Ergonomic Chair ที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่ขณะนี้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับสรีระร่างกายของมนุษย์ แต่ก็ใช่ว่าจะเหมาะหรือเข้ากับสรีระเราได้ทุกตัว และสังเกตไหมว่าช่วงราคาของเก้าอี้เพื่อสุขภาพนั้นกว้างมาก มีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น! แบบนี้แล้วเราจะต้องมีวิธีเลือกยังไง ยิ่งแพงยิ่งดีจริงหรือเปล่า? วันนี้เรามีวิธีเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพมาฝากกัน อ่านจบแล้วรับรองเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพได้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แน่นอน

1. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ปรับระดับความสูงต่ำได้

ขณะนั่งเก้าอี้ เท้าของเราควรวางราบกับพื้นได้แบบเต็มฝ่าเท้า ขาทั้งสองต้องตั้งฉากกับพื้นพอดี โดยที่ปลายเท้าต้องไม่ห้อยลงพื้น เพราะว่าเลือดจะไหลลงมากองที่เท้าทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย เราจึงควรเลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำของเก้าอี้ได้ เพื่อรองรับความยาวช่วงขาที่ไม่เท่ากันของแต่ละคน

2. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่พนักพิงพอดีกับแผ่นหลัง หรือสามารถปรับพนักพิงหลังได้

เก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ดีควรจะมีพนักพิงที่ช่วยพยุงไหล่ รองรับแผ่นหลัง กระดูกตรงบั้นเอว และกระดูกสันหลังส่วนล่างได้อย่างพอดี ซึ่งเมื่อนั่งแล้วไม่ควรมีช่องว่างระหว่างแผ่นหลังกับเก้าอี้ ดังนั้นพนักพิงควรจะพอดีกับแผ่นหลังของเรา และตัวรองรับกระดูกบั้นเอวที่อยู่บริเวณด้านหลังของพนักพิงควรจะต้องเลื่อนปรับได้ด้วย เพราะช่วงเอวแต่ละคนมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน ส่วนนี้จึงสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ เพราะจะช่วยให้หลังแนบชิดสนิทกับพนักพิง หลังของเราก็จะไม่แอ่นและไม่ค่อม ทำให้เราสามารถนั่งตัวตรงได้แบบสบาย ๆ

3. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่มีที่วางแขน

เก้าอี้เพื่อสุขภาพควรมีที่วางแขนสำหรับรองรับข้อศอกและแขนท่อนล่าง เพื่อให้เราสามารถวางข้อศอกกับแขนให้อยู่ในแนวเส้นตรงซึ่งเป็นท่านั่งที่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ที่วางแขนมีประโยชน์ตรงที่จะช่วยให้เราสามารถทิ้งน้ำหนักลงบริเวณนั้นเพื่อพยุงตัวเองให้ลุกขึ้นโดยไม่ปวดข้อเข่าหรือข้อเท้า เพราะที่วางแขนจะช่วยพยุงน้ำหนักตัวของเราร่วมกับการใช้แรงจากเข่าหรือข้อเท้าเพื่อลุกขึ้นยืนนั่นเอง

4. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่มีล้อเลื่อน

นอกจากความสนุกที่ได้จากการนั่งเลื่อนไปเลื่อนมาบนเก้าอี้แล้วจริงๆ ล้อเลื่อนถือว่ายังมีประโยชน์ในแง่อำนวยความสะดวกในการทำงานด้วย นึกภาพว่าเรานั่งโต๊ะทำงานที่มีพื้นที่กว้าง การจะหยิบจับอะไรแถวขอบโต๊ะก็อาจจะเอื้อมถึงได้ยาก รวมถึงตามหลักแล้วเราเองก็ควรลุกจากเก้าอี้ทำงานบ่อย ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือพักสายตา เก้าอี้ทำงานจึงควรเอื้อให้เราลุกนั่งได้บ่อย ๆ ดังนั้นเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ดีจึงจำเป็นต้องมีล้อเลื่อน และต้องเป็นล้อที่คุณภาพดี ทนทาน ไม่สร้างรอยขีดข่วนบนพื้น

5. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่เบาะรองนั่งไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป

ท่านั่งที่ถูกต้องคือนั่งแล้วตัวเราต้องไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง น้ำหนักของเราต้องบาลานซ์ กระจายทั่วเบาะรองนั่ง และเบาะต้องไม่นุ่มหรือเป็นแอ่ง เพราะอาจส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอ ควรเลือกเบาะที่ช่วยให้ลงน้ำหนักที่กล้ามเนื้อต้นขาหรือก้นทั้งสองข้างได้เท่า ๆ กัน ที่สำคัญต้องกว้างพอสำหรับสรีระของเราด้วย

6. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่มีพนักพิงรองคอ

เก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ดีควรมีพนักพิงไว้รองคอของเราเพื่อปรับศีรษะของเราให้ตั้งตรงและลดอาการปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ และพนักพิงรองคอก็ควรปรับระดับและเปลี่ยนองศาให้พอดีกับต้นคอของเราได้ด้วย

7. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพจากราคาที่เหมาะสม

หลังจากหาเก้าอี้ที่แมตช์กับทุกข้อด้านบนได้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรานั่งสบายหรือไม่ สรีระคนเรามีความหลากหลายมาก ดังนั้นเก้าอี้เพื่อสุขภาพตัวโปรดของทุกคนก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจะรู้ได้ว่าเก้าอี้เพื่อสุขภาพตัวไหนที่ตอบโจทย์เราที่สุด ก็คือตัวที่เราลองนั่งแล้วสบายที่สุดนั่นเอง

8. เลือกเก้าอี้เพื่อสุขภาพให้เข้ากับสรีระของเรา

หลังจากหาเก้าอี้ที่แมตช์กับทุกข้อด้านบนได้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรานั่งสบายหรือไม่ สรีระคนเรามีความหลากหลายมาก ดังนั้นเก้าอี้เพื่อสุขภาพตัวโปรดของทุกคนก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจะรู้ได้ว่าเก้าอี้เพื่อสุขภาพตัวไหนที่ตอบโจทย์เราที่สุด ก็คือตัวที่เราลองนั่งแล้วสบายที่สุดนั่นเอง

          เก้าอี้เพื่อสุขภาพที่คุณภาพดีไม่ได้มีแต่ตัวที่ราคาแพงเสมอไป เรายังสามารถเลือกได้ตามสไตล์และราคาที่เราชอบ โดยที่ต้องสอบผ่านวิธีเลือกใน 8 ข้อด้านบนด้วย เมื่อเราเจอเก้าอี้ตัวนั้นแล้วเราก็จะนั่งทำงานได้อย่างมีความสุขแบบหมดกังวลเรื่องออฟฟิศซินโดรมเลยล่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top

เก้าอี้ AUDITORIUM: รุ่น MV-GY-2212

รับประกัน

ตัวเลือกสี

รับประกัน

ตัวเลือกสี

ตัวเลือกสี

Features

  • พนักหลังและเบาะนั่งผลิตจากฟองน้ำความหนาแน่นสูงฉีดขึ้นรูป
  • โครงด้านหลังพนักพิงและด้านล่างของเบาะนั่งผลิตจากพลาสติก PP
  • ขาเหล็กคุณภาพสูงอบสี Powder Coated
  • พนักแขนไม้อบสี Powder coated
  • เบาะพับสปริงแบบ The flash
  • กระดานรองเขียนไม้ MDF ความหนาแน่นสูงปิดผิวเมลามีน

โครงเก้าอี้

ความสูง:

1000mm

ความลึก:

850mm

ระยะห่างตรงกลาง:

585mm

เบาะรองนั่ง

ความสูง:

450mm

ความลึก:

450mm

ความสูงที่รองเขียน:

630mm

เก้าอี้ AUDITORIUM: รุ่น MV-GY-2801

รับประกัน

ตัวเลือกสี

รับประกัน

ตัวเลือกสี

ตัวเลือกสี

Features

  • พนักหลังและเบาะนั่งผลิตจากฟองน้ำความหนาแน่นสูงฉีดขึ้นรูป
  • โครงด้านหลังพนักพิงและด้านล่างของเบาะนั่งผลิตจากโครงไม้
  • ขาอลูมิเนียม
  • พนักแขนไม้อบสี Powder coated
  • เบาะพับสปริงแบบ Moderate tardy
  • กระดานรองเขียนพลาสติกไฟเบอร์ความแข็งแรงสูง ข้อหมุนอลูมิเนียม

โครงเก้าอี้

ความสูง:

990mm

ความลึก:

880mm

ระยะห่างตรงกลาง:

580mm

เบาะรองนั่ง

ความสูง:

450mm

ความลึก:

450mm

ความสูงที่รองเขียน:

600mm

ชอบดีไซน์ สะดวกในการเลือกสินค้า เพราะแสดงรายการให้ดู ที่เลือก WORK STATION OFFICE เพราะว่าการจัดส่งทำได้เร็ว งานผมรีบเลยประเมินจากราคา ระยะเวลา สามารถดูบน Website เพื่อเปรียบเทียบได้เลย