5 เคล็ดลับหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม

5 เคล็ดลับหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม

กว่า 80% ของมนุษย์เงินเดือนมีอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) สถิตินี้มาจากโรงพยาบาลสมิติเวช โดยอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออาการที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ หรือรู้สึกเมื่อยล้าตรงบริเวณของกล้ามเนื้อกระดูกสันหลัง โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการที่นั่งทำงานเป็นเวลานาน
หรือทำท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลาที่ยาวนาน
สำหรับใครที่รู้ตัวว่าตนเองนั้นมีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือมีอาการปวดเมื่อยบริเวรคอ บ่า ไหล่ และหลัง ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองดังนั้น เรามาดู
5 เคล็ดลับเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม ต้องทำอย่างไร ตามมาดูกัน

1.นั่งทำงานให้ถูกท่า

         เหล่าหนุ่มสาวชาวออฟฟิศส่วนใหญ่มักจะติดกับดักความสบาย โดยมักนั่งในท่าทางที่ตนเองรู้สึกสบายที่สุด อาทิ นั่งหลังค่อมหรือเอนหลัง ซึ่งในแต่ละวันเราต้องนั่งทำงานในท่าทางดังกล่าวหลายชั่วโมง โดยที่หลาย ๆ คนอาจไม่ทราบว่าท่านั่งดังกล่าว นอกจากจะทำให้เราเสียบุคลิกแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้า เป็นที่มาของอาการปวดหลัง จนทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ในที่สุด

ทางแก้ที่ถูกต้องก็คือ ควรนั่งในท่าทางที่ถูกต้อง ซึ่งหมายถึงควรนั่งหลังตรง โดยความสูงของเก้าอี้ต้องพอดีกับระยะห่างของโต๊ะทำงาน รวมถึงพอเหมาะกับระยะสายตาที่คุณมองเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ และพื้นที่สำหรับวางเม้าส์ มีพื้นที่มากเพียงพอสำหรับขยับแขน โดยไม่ทำให้คุณต้องงอแขน  ซึ่งท่านั่งดังกล่าวจะตรงตามหลักสรีรศาสตร์ ซึ่งเป็นเคล็ดลับง่าย ๆ ที่ทำให้คุณไม่ต้องกลัวว่าจะมีอาการออฟฟิศซินโดรมอีกต่อไป

2.พักผ่อนสายตาเสียบ้าง

     อาการที่ตามมาของคุณที่นั่งจ้องหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ส่งผลให้คุณมีอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา หรืออาการเมื่อยล้าทางสายตา (Digital eye strain) จนทำให้มีอาการปวดศีรษะ ทางแก้ปัญหาที่ดีและง่ายที่สุด เราควรที่จะพักสายตาทุก ๆ สิบนาทีหรือพยายามกะพริบตาบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาซึ่งจะทำให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้นขึ้น

รวมถึงลองหาต้นไม้มาปลูกไว้ตามมุมห้อง หรือในห้องทำงานควรมีพื้นที่สีเขียวของต้นไม้ เนื่องจากสีเขียวของต้นไม้สามารถลดอาการปวดตาได้ รวมถึงอย่าลืมลดแสงหน้าจอคอม เพื่อให้กล้ามเนื้อดวงตาได้ผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมลดลงอีกด้วย

3.เปลี่ยนท่านั่ง ปรับอิริยาบถบ่อย ๆ

     เชื่อว่าหนุ่มสาวชาวออฟฟิศมีอาการแบบเดียวกัน คือในเวลาที่นั่งทำงานอย่างใจจดใจจ่อ คุณแทบไม่จะได้ขยับร่างกายของคุณเลยทีเดียว และนั่นก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาการออฟฟิศซินโดรมของคุณ การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันคุณเคยนับสักครั้งไหมเอ่ยว่าตัวคุณนั้นได้ขยับร่างกายกี่ครั้งต่อวัน ซึ่งหากยิ่งวันไหนทำงานหนัก เราเชื่อเลยว่าคุณแทบจะไม่ได้ขยับร่างกายของตัวเองเลย แต่นั่นก็คือพฤติกรรมที่ผิดมหันต์ เพราะว่าการนั่งทำงานเป็นเวลานานทำให้คุณมีอาการปวดเมื่อย ดังนั้นอย่างน้อยทุก ๆ 20 นาที คุณควรที่จะปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง เพื่อป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ

อีกทั้งยังช่วยให้ตัวคุณเองรู้สึกตื่นตัว และพร้อมสำหรับทำงานต่อไป โดยเริ่มจากการยืดเส้นยืดสายหรือลองเดินขยับร่างกายออกจากโต๊ะทำงานบ้าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังช่วยพักสายตาไม่ให้อ่อนล้าจนเกินไปอีกด้วยค่ะ 

4.ออกกำลังกายเป็นประจำ

    เคล็ดลับที่อาจเรียกได้ว่าไม่ลับเลยสักนิด สำหรับคนที่เริ่มต้นมีอาการออฟฟิศ ซินโดรมแล้วต้องการแก้ไข หรือต้องการหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าว บอกได้เลยว่าอาการนี้นั้นสามารถแก้ไขได้ง่ายนิดเดียวนั่นก็คือการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อของคุณ อาทิ โยคะ ว่ายน้ำ ซึ่งเป็นกีฬาที่ช่วยผ่อนคลายและลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

อีกทั้งการออกกำลังกายยังสามารถลดความเครียดจากการทำงาน และเสริมสร้างแข็งแรงและภูมิต้านทานที่ดีให้แก่ร่างกาย

5.เข้ารับการรักษา

วิธีการที่ง่ายที่สุดเพื่อแก้ไขอาการออฟฟิศ ซินโดรมคือเข้ารับการรักษา ซึ่งวิธีการที่แก้ไขอาการออฟฟิศ ซินโดรมสามารถทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งเราจะบอกคุณเองว่าเราสามารถแก้ไขอาการออฟฟิศ ซินโดรมได้อย่างไร

  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู: เป็นการรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพ อาทิ การใช้เครื่องดึงคอ รวมถึงวิถีการฝังเข็ม หรือคอร์สเรียนท่ากายบริหารเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศ ซินโดรม เพื่อช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • คลื่นกระแทก (Shock Wave): เป็นการรักษาออฟฟิศ ซินโดรมที่เรื้อรังมานานโดยใช้การ Shock Wave เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ อาทิ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา รวมถึงปวดบริเวณต่าง ๆ

ใช้ยา: การรักษาออฟฟิศ ซินโดรมสำหรับคนที่มีอาการรุนแรง คือการใช้ยาในการรักษา โดยใช้ยาในการบรรเทากล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น

เคล็ดลับ 5 วิธีหลีกเลี่ยงอาการ ออฟฟิศ ซินโดรม

ซึ่งหากใครสามารถทำได้ครบทั้ง 5 ข้อบอกได้คำเดียวว่าอาการเหล่านี้จะหายเป็นปลิดทิ้ง ไร้อาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่อีกต่อไป และนั่นจะทำให้คุณสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น อย่าลืมปฏิบัติให้ครบทั้ง 5 ข้อ แล้วอาการออฟฟิศ ซินโดรมจะไม่มากวนใจคุณอีกเลย

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top

เก้าอี้ AUDITORIUM: รุ่น MV-GY-2212

รับประกัน

ตัวเลือกสี

รับประกัน

ตัวเลือกสี

ตัวเลือกสี

Features

  • พนักหลังและเบาะนั่งผลิตจากฟองน้ำความหนาแน่นสูงฉีดขึ้นรูป
  • โครงด้านหลังพนักพิงและด้านล่างของเบาะนั่งผลิตจากพลาสติก PP
  • ขาเหล็กคุณภาพสูงอบสี Powder Coated
  • พนักแขนไม้อบสี Powder coated
  • เบาะพับสปริงแบบ The flash
  • กระดานรองเขียนไม้ MDF ความหนาแน่นสูงปิดผิวเมลามีน

โครงเก้าอี้

ความสูง:

1000mm

ความลึก:

850mm

ระยะห่างตรงกลาง:

585mm

เบาะรองนั่ง

ความสูง:

450mm

ความลึก:

450mm

ความสูงที่รองเขียน:

630mm

เก้าอี้ AUDITORIUM: รุ่น MV-GY-2801

รับประกัน

ตัวเลือกสี

รับประกัน

ตัวเลือกสี

ตัวเลือกสี

Features

  • พนักหลังและเบาะนั่งผลิตจากฟองน้ำความหนาแน่นสูงฉีดขึ้นรูป
  • โครงด้านหลังพนักพิงและด้านล่างของเบาะนั่งผลิตจากโครงไม้
  • ขาอลูมิเนียม
  • พนักแขนไม้อบสี Powder coated
  • เบาะพับสปริงแบบ Moderate tardy
  • กระดานรองเขียนพลาสติกไฟเบอร์ความแข็งแรงสูง ข้อหมุนอลูมิเนียม

โครงเก้าอี้

ความสูง:

990mm

ความลึก:

880mm

ระยะห่างตรงกลาง:

580mm

เบาะรองนั่ง

ความสูง:

450mm

ความลึก:

450mm

ความสูงที่รองเขียน:

600mm

ชอบดีไซน์ สะดวกในการเลือกสินค้า เพราะแสดงรายการให้ดู ที่เลือก WORK STATION OFFICE เพราะว่าการจัดส่งทำได้เร็ว งานผมรีบเลยประเมินจากราคา ระยะเวลา สามารถดูบน Website เพื่อเปรียบเทียบได้เลย